ชาร์ลส์ ดาร์วินสอนมนุษย์รู้จักมนุษย์ - ชาร์ลส์ ดาร์วินสอนมนุษย์รู้จักมนุษย์ นิยาย ชาร์ลส์ ดาร์วินสอนมนุษย์รู้จักมนุษย์ : Dek-D.com - Writer

    ชาร์ลส์ ดาร์วินสอนมนุษย์รู้จักมนุษย์

    สำหรับคอลัมน์ “มองซีอีโอโลก” หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2550 โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ

    ผู้เข้าชมรวม

    5,053

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    5.05K

    ความคิดเห็น


    8

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 ก.ค. 53 / 21:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      เมื่อ 200 ปีที่แล้วมนุษย์ในโลกยังเชื่อว่าพระเจ้าคือผู้สร้างโลก ผู้สร้างมนุษย์และมนุษย์คือผู้ประเสริฐสุดในโลก ถือเป็นความเชื่อในกลุ่มคนที่นับถือศาสนาคริสต์ที่ได้รับการบอกเล่ามาแต่โบราณตามคำเขียนในคัมภีร์และยากที่จะมีผู้ใดมาหักล้างความคิดดังกล่าวเพราะขณะนั้นอำนาจและอิทธิพลของคริสตจักรนั้นมีล้นฟ้า  เนื่องจากคนส่วนใหญ่เลื่อมใสและเขื่อฟังในคำสอนของพระ การจะมีใครสักคนมาแสดงความคิดใหม่ที่ขัดต่อคำบอกกล่าวในคัมภีร์จึงถือว่าเป็นการขัดต่อประสงค์ของพระเจ้า ถือว่าเป็นความรู้สึกนึกคิดของผู้ปฎิบัติธรรมหรือผู้นำศาสนาที่มีความจำเป็นต้องรักษาอาณาจักรของตนเองและถือได้ว่าเป็นเรื่องอันตรายถ้าใครจะมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความคิดเช่นนี้  เพราะนั่นคงเปรียบเสมือนศัตรูแห่งความคิดเลยทีเดียว แต่ชาร์ลส์ ดาร์วิน

      ก็คือผู้จุดประกายแห่งความเข้าใจในเรื่องของมนุษย์และการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตในโลกว่าไม่ใช้เป็นดั่งเช่นที่คนโบราณถูกพร่ำสอน ปลูกฝังมา

       

      ชาร์ลส์ ดาร์วินคือผู้ที่เปิดความคิดใหม่ให้มนุษย์ได้เข้าใจถึงที่มาของโลกอย่างแท้จริง อย่างเช่นทุกวันนี้ที่เราสามารถพิสูจน์ได้โดยไม่งมงายตามคำบอกเล่าของกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งว่าเป็นไปตามความเชื่อโบราณ   ชาร์ลส์ ดาร์วินไม่เคยได้รับการยอมรับหรือรับรางวัลใด ๆ จากคนในยุคนั้นเลย แต่คนรุ่นต่อมาได้เข้าใจและถือว่าเขาคือผู้ที่บุกเบิกความเป็นจริงของชีวิตสรรพสิ่งบนโลกใบนี้และเป็นรากฐานของความเข้าใจของการวิจัยที่ถูกต้องอย่างมีเหตุและผล

       

      จะว่าไปแล้วความเชื่อของทุกคนนั้นล้วนเริ่มมาจากสมองที่เพิ่งเริ่มจะรับรู้นับแต่วันแรกของการเรียนรู้ตั้งแต่เป็นเด็ก ซึ่งผู้ที่อาวุโสกว่าเป็นผู้ป้อนความคิดทุกอย่าง สังคมก็เช่นเดียวกัน ผู้นำ ผู้รู้ ผู้มีอำนาจบารมีคือผู้ที่ใส่ความเป็นชนชาติ ความเป็นชาตินิยมแก่คนในสังคมนั้น  ๆจนกลายเป็นความเชื่อและระเบียบหรือกฎเกณฑ์ของคนในยุคหรือประเทศนั้นๆ ไปเลยทีเดียว  

       

      เมื่อกว่า 200ปีที่แล้วก็เช่นเดียวกัน  ที่คนในยุคนั้นยังใช้ระบบทาส ขุนนางและผู้นำระดับสูงสุดที่ยังคงถูกครอบงำเพียงคนไม่กี่คนที่ถือเป็นชนชั้นสูงที่เอาความคิด เอาผลประโยชน์ของกลุ่มตนเป็นหลัก ฉะนั้นการที่จะมีใครมาปรับเปลี่ยนความคิดเดิมจึงถือเป็นปรปักษ์และเป็นเรื่องใหญ่มากที่มาขัดแย้งความเป็นตัวตนของคนพวกนี้ 

       

      ฉะนั้นการที่ชาร์ลส์ ดาร์วินเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ปฎิวัติความเชื่อ ความคิดดั้งเดิมและผลประโยชน์แต่โบราณจึงถือเป็นเรื่องที่ไม่เป็นสิริมงคล จนเขาไม่ได้มีชื่อเสียงอย่างที่ควรจะได้รับการยกย่องจากผลงานของเขาเท่าที่ควร แต่ความจริงของโลกได้ปรากฎให้เห็นว่าเขาคือผู้ที่ทำให้มนุษย์ได้รู้จักโลกในความเป็นจริงของอดีตนั่นเอง

       

      ประวัติ

       

      ชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เป็นผู้ที่ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็น ทฤษฎีวิวัฒนาการ  และเสนอหลักการพื้นฐานของ กลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ในหนังสือที่มีชื่อว่า The Origin of Species (กำเนิดของสิ่งมีชีวิต) เขาเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809ในเมืองแห่งหนึ่งในเขตชร็อปไชร์ (Shropshire) ประเทศอังกฤษ  เขาเป็นลูกคนที่ 5 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 6 คน พ่อของเขาคือนายแพทย์โรเบิร์ต ดาร์วิน และแม่ของชาร์ลส์ ดาร์วินมีชื่อว่าซูซานน่าห์ พ่อของเขาเป็นคนที่มีความคิดค่อนข้างเป็นอิสระ

      ในวัยเด็กเขาเป็นเด็กที่สนใจในธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ และยังเป็นคนที่ชอบสะสมสิ่งของที่เขาสนใจ เช่น แมลง (ที่ตายแล้ว) เปลือกหอย ไข่นก เหรียญต่างๆ และหินแปลกๆ เขาชอบการทำสวนมาก ชาร์ลส์ ดาร์วินได้รับอิทธิพลจากผู้เป็นพ่อในเรื่องของความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

       

       ค.ศ. 1817 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ก็เข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนโดยนักเทศน์ของโบสถ์ในนิกายยูนิทาเรียน เมื่อตอนที่เขาอายุได้ 8 ขวบ แม่ของเขาก็ตายจากไปจากอาการปวดท้องอย่างหนัก ดังนั้นคนที่ดูแลชาร์ลส์ ดาร์วินจริงๆ ส่วนใหญ่คือพี่สาวสามคนที่โตเกือบจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว  ค.ศ. 1818 ชาร์ลส์ ดาร์วินย้ายเข้าไปเป็นนักเรียนในโรงเรียนประจำโรงเรียนเดียวกับพี่ชาย เขาเกลียดการเรียนแบบท่องจำมาก

       

                  การได้ใช้ชีวิตในวันหยุดกับครอบครัวช่วยให้เขาได้สะสมสิ่งต่างๆ แต่พี่สาวของเขามักจะตั้งกฎว่า เป็นการไม่ถูกต้องที่จะฆ่าแมลง เพื่อมาสะสม ดังนั้นเขาจึงต้องสะสมแมลงที่ตายแล้วแทน ส่วนอีราสพี่ชายของเขาสนใจด้านเคมี และชาร์ลส์ก็กลายเป็นผู้ช่วยของพี่ชายโดยทั้งสองได้ใช้โรงเก็บของในสวนของที่บ้านเป็นห้องแล็บในการทดลอง พออีราสพี่ชายไปเรียนวิชาการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ชาร์ลส์ ดาร์วินก็ยังสานต่อโครงการของพี่ชาย ด้วยการรีบกลับมาที่โรงเก็บของในสวนที่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ทุกครั้ง แต่ครูใหญ่ที่โรงเรียนไม่ค่อยชอบใจนัก กับความสนใจที่เบี่ยงเบนไปจากการเรียนวิชาทางด้านกรรมคดีโบราณของกรีกและโรมันจึงเรียกเขาว่าคนเหลวไหล พอเขาอยู่ในช่วงวัยรุ่นอายุ 15 ปี ความสนใจของเขาก็เปลี่ยนไปอยู่ที่การล่าสัตว์และการยิงนก

       

      หลังจากที่เรียบจบจากโรงเรียนในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1825 เขาไปช่วยพ่อรักษาผู้ป่วยที่ยากจนในเขตชร็อปไชร์ในฐานะแพทย์ฝึกหัด ด้วยการคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยให้กับพ่อเพื่อที่จะได้ออกใบสั่งยาหรือรักษาได้ถูก พ่อของเขาอยากจะให้เขามีอาชีพแพทย์เช่นเดียวกัน

       

      ปู่ของเขาคืออีราสมุส ดาร์วินเป็นแพทย์  นักธรรมชาติวิทยา กวี นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาผู้โด่งดังแห่งศตวรรษที่ 18 เขามีความคิดที่อิสระ และส่งอิทธิพลต่อทัศนคติด้านศาสนาของชาร์ลส์ ดาร์วินในเวลาต่อมาอีกด้วย อีราสมุสเคยตั้งข้อสันนิษฐานว่าสัตว์เลือดอุ่นทั้งหลายล้วนกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตหน่วยหนึ่งที่เรียกว่า filamentถึงแม้ว่าชาร์ลส์ ดาร์วินจะเกิดหลังจากที่ปู่ของเขาได้สิ้นชีพไปแล้ว แต่พ่อของเขาได้เก็บตำราทางการแพทย์ที่ประเมินค่ามิได้ไว้เขามีโอกาสได้อ่านตำราเหล่านี้ในตอนที่เป็นเด็กนักเรียน และพ่อของเขาก็ดำเนินรอยตามปู่ในการที่เป็นคนมีหัวคิดอิสระ

                  ใน ค.ศ. 1825 ชาร์ลส์ ดาร์วินก็ถูกส่งไปเรียนการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก ตามความประสงค์ของพ่อ เขาเป็นนักเรียนที่ขยันขันแข็ง แต่ก็เป็นคนเปราะบางและกลัวการเห็นเลือดมาก ที่มหาวิทยาลัยเขาเกลียดวิชาอนาโตมีหรือกายวิภาคศาสตร์และรู้สึกขยะแขยงวิธีการผ่าตัดในเวลานั้น และไม่สนใจวิชาการแพทย์ แต่เขาชอบวิชาเคมีมาก

      นอกจากนี้เขายังได้เรียนเทคนิคการทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิตจากทาสผิวดำชื่อจอห์น เอ็ดมอนสโตน ซึ่งได้บอกเล่าเรื่องราวอันน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับป่าฝนของกายอานาในอเมริกาใต้ ซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้ใช้ประสบการณ์การใกล้ชิดกับคนผิวดำนี้มาเขียนในหนังสือ หนังสือเล่มนี้ได้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของเขา เขาระบุว่า  คนนิโกรและพวกยุโรปต่างก็เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างผิวเผินทางรูปลักษณ์ภายนอก

       

      เมื่อเรียนเป็นปีที่สองเขาได้ร่วมลงสำรวจวงจรชีวิตของสัตว์ทะเลและเก็บตัวอย่างที่ชายฝั่งทะเลกับอาจารย์ที่มีชื่อว่าโรเบิร์ต เอ็ดมันด์ แกรนท์ และยังลงเรียนวิชา การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตกับศาสตราจารย์โรเบิร์ต เจมสัน ซึ่งการเรียนวิชานี้เขา โปรดปรานการฝึกปฏิบัติในพิพิธภัณฑ์และการเรียนภาคสนามมาก

       

      ในขณะเดียวกันเขารู้สึกเบื่อหน่ายการเรียนแพทย์มาก เขาได้เขียนจดหมายส่งไปถึงครอบครัว และท้ายที่สุดก็เลิกเรียนในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1827 โดยที่ไม่จบ พ่อของเขาเป็นทุกข์มากเมื่อรู้ว่าลูกชายคนเล็กของเขาจะไม่เป็นแพทย์ ดังนั้นพ่อของเขาจึงสมัครให้เขาเข้าเรียนที่คริสต์คอลเลจ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1827 ในสาขาศิลปะศาสตร์ที่เรียนทางศาสนาเพื่อจะให้เป็นบาทหลวง ในเวลานั้นนักธรรมชาติวิทยาส่วนใหญ่ในอังกฤษล้วนแต่เป็นบาทหลวงผู้ซึ่งมองว่าส่วนหนึ่งในหน้าที่ของการเป็นบาทหลวงก็คือ การสำรวจสิ่งอัศจรรย์ที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา

       

      อย่างไรก็ตาม ชาร์ลส์ ดาร์วิน สนใจการขี่ม้าและการยิงนกมากกว่าการเรียน ในภาคการศึกษาแรกสิ่งที่เขาสนใจคือด้านดนตรีและใจจดใจจ่อกับการแข่งสะสมเต่าทองที่เป็นความนิยมที่แพร่ระบาดไปทั่วประเทศ เขารู้จักกับบาทหลวงจอห์น สตีเวนส์ เฮนสโลว์ ศาสตราจารย์ด้านพฤกษศาสตร์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแมลงเต่าทอง ต่อมาเขาลงเรียนวิชาการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตกับศาสตราจารย์ผู้นี้ ซึ่งได้แนะนำให้เขาร่วมเดินทางไปกับกัปตันโรเบิร์ต ฟิตซ์รอย ของเรือหลวงราชนาวีบีเกิล เพื่อทำแผนที่ชายฝั่งของอเมริกาใต้  เขาได้รับเชิญให้เป็นนักสำรวจธรรมชาติวิทยากับเรือบีเกิลที่ออกเดินทางเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1831 การสำรวจนี่ใช้เวลานานถึง 5 ปีทำให้ชาร์ลส์ ดาร์วินได้มีโอกาสเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตซึ่งหลายชนิดยังไม่เป็นที่รู้จัก เขาบันทึกทุกอย่างที่เขาเห็น และยังได้เปรียบเทียบสัตว์และพืชจากส่วนต่างๆ ของโลก และได้รวบรวมฟอสซิลและศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่มีชีวิตที่เขาได้พบเห็น ได้ประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ชิลี เจอก้อนหินจากภูเขาไฟ ฯลฯ การเดินทางครั้งนี้ทำให้ดาร์วินมีความเชื่อว่าพืชและสัตว์ทั้งหลายไม่ได้ถูกสร้างขึ้นในทันทีทันใด แต่ชนิดของต้นไม้หรือสัตว์มีวิวัฒนาการหรือมีการพัฒนาหลังจากเวลาอันยาวนาน เขาเขียนจดหมายอธิบายการค้นพบของเขากลับไปที่แคมบริดจ์ ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เป็นนักธรรมชาติวิทยา

       

      ค.ศ. 1833 เขามีอาการไข้ในอาร์เจนติน่า และในปีค.ศ. 1834 เขาก็ล้มป่วยและเป็นเวลาร่วมเดือนเส้นทางแห่งการเดินเรือนั้นคือการเลียบฝั่งไปทั่วโลก เขามาถึงแหลมเคปฮอร์น พบชนพื้นเมืองฟีเจียน ซึ่งหน้าตากระเดียดไปทางลิง เป็นจุดประกายความคิดถึงการเริ่มต้นแห่งกำเนิดมนุษย์ให้กับชาร์ลส์ ดาร์วิน จากแห่งนี้  ค.ศ. 1835 เรือบีเกิลพาเขามาถึงเกาะกาลาปากอส เขาได้พบสัตว์ชนิดต่างๆ ที่น่าทึ่ง และพบว่าแต่ละเกาะมีสัตว์เฉพาะชนิดซึ่งไม่พบในเกาะอื่น เช่น เต่ายักษ์ กิ้งก่ายักษ์ ปลาพันธุ์ใหม่ๆ ถึง 15 ชนิด

      นกฟินช์ (Finches) ถึง 14 ชนิด ในขณะที่บนแผ่นดินใหญ่เขาพบเพียง 1 ชนิด

       

      เขาสังเกตว่าทำไมสัตว์ที่พบบนเกาะแห่งนี้จึงมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากสัตว์ประเภทเดียวกันบนผืนแผ่นดินใหญ่ เขาจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าสัตว์เหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากแผ่นดินใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปนับล้านปี มันได้ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของเกาะ  รูปร่างลักษณะของมันจึงแตกต่างไปจากบรรพบุรุษบนแผ่นดินใหญ่ 

       

      สิ่งที่เขาได้พบทำให้เขาต้องคิดอย่างหนัก ว่าสัตว์เหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะพิเศษที่ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นๆ ส่วนตัวใดที่ไม่มีลักษณะเช่นนั้นก็จะตายไป ส่วนที่อยู่ก็ได้ถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ไปยังลูกหลาน การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ ตลอดเวลาหลายพันปี ชนิดที่อ่อนแอและมีส่วนที่ด้อยกว่าก็จะตายไป ชนิดที่ดีกว่าก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมเฉพาะนั้นๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มจำนวน นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ การที่เขาได้พบและเก็บตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ และสิ่งมีชีวิตหลากหลายด้วยตัวเอง เขาก็เกิดความสงสัยว่าโลกนี้มีอายุเก่าแก่กว่าที่เคยเชื่อกันตามคำสอนในศาสนาคริสต์ในขณะนั้น และสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตที่เห็นในปัจจุบันเกิดจากบรรพบุรุษที่หน้าตาแตกต่างไปจากที่เราเห็นกันอยู่ ไม่ใช่เกิดมาก็เป็นอย่างที่เป็นอยู่ตามที่เชื่อกันอยู่เดิม

       

      เมื่อเรือบีเกิลได้เดินทางกลับมายังอังกฤษเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1836 หลังจากผ่านการ เป็นระยะเวลาถึง 5 ปี เขากลายเป็นคนดังในแวดวงวิทยาศาสตร์ และเขาก็รีบกลับมาที่แคมบริดจ์เพื่อพบกับศาสตราจารย์เฮนสโลว์ เขาหมกมุ่นสนใจกับหลักฐานและความรู้สารพัดสิ่งที่ได้รับมา

       

      ในปี ค.. 1838 ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้รับตำแหน่งเลขาธิการธรณีวิทยาสมาคม และลงมือศึกษากฎพื้นฐานสำคัญในการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และเขาได้ใช้เวลา 20 ปี ต่อมาในอังกฤษรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการของเขา

       

      ชาร์ลส์ ดาร์วินได้เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาเล่มแรกคือ เดอะ ซูโอโลจี ออฟ เดอะ บีเกิล ซึ่งในเวลานั้นการมีแนวความคิดขัดกับศาสนาว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลกและสรรพชีวิตเป็นความผิดมหันต์ มีนักธรรมชาติวิทยาอีกคนหนึ่งชื่อวอลเลซ มีความเห็นเช่นเดียวกันกับเขา  เขาเขียนจดหมายถึง ชาร์ลส์ ดาร์วิน ในปี ค.ศ.1858 และส่งเอกสารเรื่องนี้ไปให้เขา แต่ยังไม่มั่นใจในการที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนเพราะว่าจะทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นอย่างแน่นอน โชคดีที่นักธรรมชาติวิทยาที่แคมบริดจ์ทราบเรื่องผลงานของชาร์ลส์ ดาร์วิน และชักชวนให้เขาเปิดเผยความคิดเห็น เขาและวอลเลซจึงพิมพ์เอกสารขึ้นด้วยกัน หนึ่งปีต่อมา  ในปี ค.ศ. 1859 เขาได้พิมพ์หนังสือที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวิวัฒนาการ หนังสือที่มีชื่อเสียงของชาร์ลส์ ดาร์วินชื่อ กำเนิดสิ่งมีชีวิตและ หนังสือเล่มนี้ก่อให้เกิดการถกเถียงกันมาก สิ่งที่ชาร์ลส์ ดาร์วินพูดถึงคือบอกว่า โลกนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นภายในหนึ่งอาทิตย์ มันมีอายุยาวนานกว่านั้น มันได้เปลี่ยนแปลงไปในเวลานี้และยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน และผิดแผกแตกต่างออกไปจากที่ตอนเริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆ มนุษย์พัฒนาขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตที่ธรรมดาที่สุด เรื่องราวของอดัมและอีฟในสวนอีเดนคงเป็นจริงไปไม่ได้ ผู้คนคิดว่าชาร์ลส์ ดาร์วินบอกว่าพวกเขาสืบเชื่อสายมาจากลิงเป็นความคิดที่น่าละอายอย่างยิ่ง หนังสือของดาร์วินถูกนำไปเผาทิ้งด้วยความโกรธและขยะแขยง

       

      ในเวลานั้น แนวคิดของเขาได้สร้างความสั่นสะเทือนให้แก่คริสตจักรและท้าทายต่อความเชื่อของคนในเวลานั้นมาก เพราะทฤษฎีวิวัฒนาการของเขากล่าวว่ามนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากลิงเอป Ape ซึ่งทำให้คนสมัยนั้นรับไม่ได้ว่าคนจะมีบรรพบุรุษเป็นลิง อีกทั้งพลิกความเชื่อดั้งเดิมของชาวคริสต์ในเรื่องที่มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาโดยพระเจ้าโดยตรงจากคำสอนเรื่องพระเจ้าผู้สร้าง ฝ่ายศาสนจักรพร้อมที่จะเผชิญกับชาร์ลส์ ดาร์วิน ในปี ค.ศ. 1860 พวกเขาเรียกประชุมที่ออกซ์ฟอร์ด พวกพระและนักวิทยาศาสตร์พบกันที่นั่นเพื่อถกเถียงกันถึงต้นกำเนิดของสัตว์และต้นไม้ แม้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความคิดเห็นของชาร์ลส์ ดาร์วินว่าถูกต้อง และเรื่องราวของอดัมกับอีฟเป็นแต่เพียงเรื่องเล่า แต่ด้วยทางฝ่ายศาสนจักรยังคงมีอำนาจมากจนทำให้ชาร์ลส์ ดาร์วินไม่เคยได้รับรางวัลเกียรติยศจากผลงานของเขา

      เขาแต่งงานเมื่อวันที่ 24 มกราคม ปี ค.. 1839 กับเอมม่า เว็ดจ์วู้ด ซึ่งเป็นลูกสาวอา ทั้งสองมีลูกด้วยกันถึง 9 คน เมื่อเวลาผ่านไป เขายังคงนิสัยรักธรรมชาติ และสนใจสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่คนอื่นมองข้าม เขาย้ายจากลอนดอนไปอยู่ชนบทเล็กๆ ในเคนท์ และชอบใช้ชีวิตเงียบๆ อยู่ในสวน อ่านหนังสือ ดูต้นไม้ เขาเป็นคนทำงานหนักและหมกมุ่นกับการทำงานมากจากการหมกมุ่นในการทำงานทำให้สุขภาพของเขาทรุดลงแต่เขายังคงทำงานต่อไป ความเครียดทำให้เขามีอาการป่วย ไม่ว่าจะเป็นอาการปัญหาโรคกระเพาะ อาเจียน ปวดศีรษะ และอาการของโรคหัวใจ เขาพูดในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1882 “เมื่อข้าพเจ้าต้องหยุดการสังเกตข้าพเจ้าก็ตาย ทั้งๆ ที่มีอาการป่วยเขาก็ยังคงทำงานอยู่ และเขาก็ได้เสียชีวิตในอีกสองวันต่อมา

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×